“อนาคตสนุกเกอร์ไทย...ไปต่อยังไงดี?” โดย สุรศักดิ์ อัครอารีสุข

13 ก.ย. 59

ได้เห็นหัวข้อเชิญชวนจากเพจใน facebook “อนาคตสนุกเกอร์ไทย...ไปต่อยังไงดี?” ทาให้ผมรู้สึกอยากเขียนบทความที่เกี่ยวข้องกับ “วงการสนุกเกอร์” ขึ้นมาบ้าง ซึ่งลักษณะบทความที่ผมได้เขียนนั้น เป็นเหมือนข้อเสนอแนะต่อสมาคมสนุ้กเกอร์แห่งประเทศไทยเสียมากกว่า ก่อนอื่นแนะนาตัวเบื้องต้น ตัวผมเริ่มติดตามชมสนุ้กเกอร์ของประเทศไทยมาตั้งแต่เด็ก (วัย 15 ปี) ด้วยตัวบ้านของผมเองมีธุรกิจขายหนังสือ (แผงลอย) ซึ่งปัจจุบันก็ยุติการขายหนังสือไปเรียบร้อยแล้วเนื่องจากโลกเปลี่ยนไป ปัจจัยต่าง ๆ เปลี่ยนแปลง ธุรกิจหนังสือเองไม่มีกาไรมากนัก เราจึงต้องปรับตัวไปทาธุรกิจอื่น ผมดูคุณต๋อง ศิษย์ฉ่อย หรือ เจมส์ วัฒนา ตั้งแต่เริ่มเข้าวงการจากนิตยสารคิวทองนี่แหละครับ ด้วยเหตุที่ในยุคนั้นประเทศไทยเองก็มีฮีโร่ด้านกีฬาค่อนข้างน้อย และด้วยวัยผมก็เท่า ๆ กับตัวต๋องด้วย (ยังจาได้ติดตาเลย สมัยก่อนต้องรอคุณพิษณุ นิลกลัด นาเทปวีดิโอมาฉายตอนดึก ๆ และเป็นสื่อหาดูยากมาก ที่จาได้แม่น คือ ตอนแข่งรอบรองชนะเลิศรายการอาชีพหนึ่งกับ ดีนส์ เรย์โนลด์ แล้วตัวต๋องพ่ายไปเพราะด้อยประสบการณ์กว่า) จนวันนี้ ตัวคุณต๋องเอง ก็ยังคงลงทาการแข่งขันในระดับอาชีพอยู่ ถือได้ว่าช่วงเวลานั้น วงการสนุ้กเกอร์ไทย ถึงจุดพีคมาก ๆ ซึ่งผมมีมุมมองว่า น่าจะเป็นเพราะในช่วงเวลาดังกล่าว “สนุ้กเกอร์ไทย” มีจุดขาย (มองในแง่การตลาด นี่คือ ตัว Product ที่ดีเลยทีเดียว) แต่เมื่อเราหันกลับมามองในภาพปัจจุบัน กีฬาสนุ้กเกอร์ กลับแทบจะไม่มีบทบาท หรืออยู่ในกระแสด้านกีฬาทั้งในระดับอาชีพและระดับสมัครเล่นของประเทศไทยเลย ทั้ง ๆ ที่ช่วงเวลานี้ น่าจะเป็นช่วงที่ดีที่สุดของการ “เติบโต” ทางด้านกีฬาของประเทศไทยอย่างมากชนิดที่ตัวผมเองยังไม่เคยคิดว่าจะได้เห็นภาพของกีฬาหรือนักกีฬาจากประเทศไทย สามารถสร้างความโดดเด่นในระดับอาชีพได้ขนาดนี้มาก่อน

ดังนั้น เพื่อให้มุมมองที่มีต่อบทความนี้เป็นไปอย่างมีกรอบที่ชัดเจน ผมจึงขอนาเสนอมุมมองในเชิงวิเคราะห์แบบ PEST มาใช้ประกอบการวิเคราะห์ในการเขียนบทความครั้งนี้ PEST ประกอบด้วยกรอบแนวคิด 4 ด้าน ได้แก่ การเมือง (Politic) เศรษฐกิจ (Economic) สังคม (Social) และเทคโนโลยีหรือนวัตกรรม (Technology) โดยเมื่อมองจากมุมมองนี้แล้ว เราจะพบว่า

ในด้าน “เศรษฐกิจ” ปัจจุบัน ประเทศไทยมีภาคเอกชนแข็งแกร่งคอยให้การสนับสนุนด้านกีฬาอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน ในแบบที่ไม่อาจหาพบได้ในสมัยเมื่อเกือบ 30 ปีก่อน เมื่อหันมามองกีฬาสนุ้กเกอร์ เราแทบไม่เห็นการสนับสนุนจากภาคเอกชนอย่างมากมายนัก (ผมแทบจะไม่ได้ยินข่าวในด้านนี้มากนัก) ซึ่งผู้ที่ทาหน้าที่เป็น “เจ้าภาพ” ในกีฬาประเภทนี้ อาจจะต้องหาหนทางที่จะเข้าไปมีส่วนแบ่งในตลาดนี้ให้ได้มากขึ้นหรืออย่างน้อยต้องเติบโตขึ้น ซึ่งหากเรามองในเชิงการเติบโตทางด้านเศรษฐกิจของทุกประเทศที่ยั่งยืนในระยะยาว ปัจจัยจากภาคเอกชนที่เข้ามาแข่งขันภายใต้กรอบกติกาที่ชัดเจนจากผู้ที่ทาหน้าที่กากับดูแล (ในที่นี้ คือ รัฐ) ได้พิสูจน์แล้วว่ามีความยั่งยืนและการเติบโตที่แข็งแกร่ง มากกว่า “รัฐ” ลงมาเล่นเอง (ซึ่งในที่นี้ ผมหมายถึง สมาคมสนุ้กเกอร์ ที่จะต้องปรับบทบาทเป็นผู้กากับดูแล อานวยความสะดวก และส่งเสริมให้ภาคเอกชน เข้ามาให้การสนับสนุน มิได้ดาเนินการเอง)

ในด้าน “การเมือง” ในที่นี้ ผมหมายถึง การหาหนทางเพื่อ “ผ่อนคลายกฎระเบียบ” เพื่อยกระดับสถานะของกีฬา ซึ่งปัจจุบันเราอาจจะไม่เห็นข่าวหรือบทบาททางด้านนี้ของวงการสนุ้กเกอร์มากนัก ขณะที่ในอดีตเคยมีความพยายามที่ดี ที่จะเปลี่ยนสถานภาพออกมาจาก พระราชบัญญัติการพนัน พ.ศ.2478 หรือหากมีความเคลื่อนไหวในประเด็นนี้เพิ่มเติมและต่อเนื่อง ก็แสดงว่าผู้ที่เกี่ยวข้องอาจจะยังขาดการประชาสัมพันธ์ความคืบหน้าในกับสังคมโดยส่วนใหญ่ได้รับทราบ รวมถึงการกาหนด “กรอบกติกาการแข่งขัน” ที่มีลักษณะเป็นแบบกีฬาอาชีพ ที่จะเชิญชวนให้ภาคเอกชนเข้ามาสนับสนุน ในระดับสโมสรกีฬา บทบาทด้านนี้ของผู้เกี่ยวข้องก็ยังไม่โดดเด่นมากนัก

ในด้าน “สังคม” กีฬาสนุ้กเกอร์ ยังขาดการทาการตลาดในจุดนี้ค่อนข้างน้อย (เท่าที่ผมสังเกตอย่างกว้าง ๆ นะครับ คือ ไม่ค่อยพบข่าวสารในหนังสือพิมพ์มากเท่าใดนัก) อีกทั้ง ตัวนิตยสาร “คิวทอง” เอง ยังไม่ใช่ (หรือยังไม่โดดเด่น) ในการเป็นสื่อกลางที่ทาหน้าที่ในการ “สารวจตลาด” เพื่อกาหนดกลุ่มหรือเซ็กเม้นท์ของประชากรกลุ่มเป้าหมายอย่างจริงจัง (การเชิญชวนคนเข้ามาเขียนบทความในครั้งนี้ ก็ถือเป็นเครื่องมือทางการตลาดที่น่าสนใจ) เพราะหากเราไม่ “สารวจตลาด” การจัดหมวดหมู่ของข้อมูลเพื่อนาไปสู่การกาหนดกลยุทธ์ทางการตลาดของกีฬาชนิดนี้ก็น่าจะทาได้ยาก เช่น ในปัจจุบันคนกลุ่มใดบ้างที่สนใจกีฬาชนิดนี้ มีช่วงอายุที่เท่าใด เป็นส่วนกลาง (กรุงเทพฯ หรือตัวเมืองใหญ่ ๆ) หรือภุมิภาค กีฬาสนุ้กเกอร์เมื่อมองจากสายตาภายนอกแล้ว “ดูเป็นคนแก่ที่ชราภาพมากแล้ว” หรือ “ดูเป็นคนหนุ่มที่แข็งแรง” แล้วเราควรจะเริ่มต้นกีฬาชนิดนี้ที่ตรงจุดไหน ในเมืองเล็ก ๆ หรือเมืองใหญ่ ๆ หรือเราควรจัดให้มีลีกอาชีพไหมโดยให้มีการจดทะเบียนเป็นสโมสรกีฬาเช่นเดียวกับฟุตบอล เหล่านี้เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดนี้ต้องผ่านการทาการสารวจตลาดอย่างชัดเจนและมีทิศทางก่อน

ในด้าน “เทคโนโลยี/นวัตกรรม” ในมุมมองผม หมายถึง “นวัตกรรมทางการบริหาร” หรือ แนวทางการบริหารหรือการจัดการแข่งขันแบบใหม่ ๆ ผมดูจากการจัดการแข่งขันของสมาคมสนุ้กเกอร์โลก หลาย ๆ อย่างก็เปลี่ยนไป เช่น ในทัวร์นาเม้นท์เล็ก ๆ ผู้แข่งขันก็ใส่เครื่องแต่งกายที่เบา ๆ ไม่ต้องมากพิธีการ เช่น เสื้อยืดโปโลแขนสั้น ใส่รองเท้าผ้าใบ รูปแบบการแข่งขัน ที่มีทั้งในแบบซีเนียร์ (อดีตแชมป์มาแข่งกัน) จูเนียร์ (คัดหาดาวรุ่ง) ระบบการนับเฟรมที่กระชับและสั้นลง (ถึงขนาดมีบางทัวร์นาเม้นท์ชิงเงินรางวัลกันถึง 30,000 ปอนด์ แต่รอบชิงแข่งกันแค่ 7 เฟรม) สมาคมหรือผู้ที่ทาหน้าที่เป็นเจ้าภาพ ต้องหันมาทางานในเชิงบริหารให้มากขึ้น ทาหน้าที่เป็นผู้กากับดูแล อานวยความสะดวก เป็นตัวกลางทีมีประสิทธิภาพ เพื่อดึงภาคเอกชนเข้ามาสนับสนุน (โดยต้องไม่ลืมคิดว่า ภาคเอกชนจะได้อะไร ผ่านการศึกษาดูงานจากกีฬาประเภทอื่น เช่น ฟุตบอลอาชีพ)

เพื่อเป็นการจบบทความนี้อย่างมีทิศทาง ผมจึงขอเสนอแนะอย่างเล็ก ๆ ก่อนครับว่า หากเราจะมองว่า “อนาคตสนุกเกอร์ไทย...ไปต่อยังไงดี?” โดยอิงจากเนื้อหาข้างต้นที่ผมได้กล่าวมา ขอให้ความเห็นและข้อเสนอแนะต่อผู้ที่ทาหน้าที่เป็นเจ้าภาพ เช่น สมาคมสนุ้กเกอร์ แห่งประเทศไทย ก็คือ เราต้องนา “เครื่องมือทางการตลาด” เข้ามาหาแนวทางแก้ไข เพื่อกาหนดกลยุทธ์ในการดาเนินงาน ซึ่งในที่นี้คือ “การสารวจตลาด” ซึ่งผลของการสารวจตลาด จะทาให้เราสามารถที่จะกระชับมุมมองและตีกรอบความคิดของเรา อันได้แก่ กาหนดกลุ่มเป้าหมายที่แท้จริงของสนุ้กเกอร์เป็นใคร ใครเป็นผู้มีส่วนได้เสียในกีฬาชนิดนี้บ้าง ภาพลักษณ์ของกีฬาชนิดนี้เป็นอย่างไร เป็นต้น โดยการสารวจตลาดนี้สามารถทาได้ในทุกทาง ทั้งในเรื่องแบบสารวจออนไลน์จากประชาชน การลงไปสัมภาษณ์ผู้ประกอบการ บริษัทเอกชน หรือการซื้อข้อมูล ให้ฟันธงเลยเราก็คงต้องจ้างมืออาชีพเข้ามาทาการสารวจตลาดนั่นเอง (อาจจะดูแพงไปสักเล็กน้อย แต่ “แพงหรือถูก” มันก็ขึ้นอยู่กับว่า “เราเปรียบเทียบกับอะไร”)

เมื่อเราได้ผลการสารวจตลาดมาแล้ว ก็จะนาเราไปสู่การ “กาหนดกลยุทธ์ขององค์กร” นั่นเอง กลยุทธ์ในที่นี้ ก็คือ หากเราต้องการให้ สนุกเกอร์ไทยมีอนาคตที่จะไปต่ออย่างไรดี เราก็จะพบว่า “มีอะไรบ้างที่เราต้องทา” และ “มีอะไรบ้างที่เราไม่จาเป็นต้องไปทา” ซึ่งคาว่า “ไปต่อ” ในที่นี้ก็คือ Road Map หรือ “แผนการดาเนินงาน” ของสมาคมสนุ้กเกอร์ (เจ้าภาพ) นั่นเอง

ทั้งนี้ เพราะโลกเปลี่ยนไป ปัจจัยต่าง ๆ ก็เปลี่ยนแปลง เรา (กีฬาสนุ้กเกอร์) จึงต้องปรับตัว และการปรับตัวของเราจะทาได้ดีก็ต้องอยู่บนพื้นฐานของการมีข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูลที่ดีเพื่อการพัฒนาวงการสนุกเกอร์ไทยไปในอนาคตอย่างยั่งยืนครับ

สุรศักดิ์ อัครอารีสุข

(ตีพิมพ์ในนิตยสารคิวทอง ฉบับที่ 405)