“กีฬาสนุกเกอร์” กับการกำหนดวิสัยทัศน์หรือการตั้งเป้าหมายระยะยาว
13 ก.ย. 59 |
ผลงานของนักกีฬาไทยในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก 2016 ที่ประเทศบราซิลครั้งนี้ ทำให้ผมเกิดมุมมองใหม่ ๆ ที่มีต่อทั้งตัวนักกีฬาและทีมกีฬาของไทยอย่างที่ไม่เคยรู้สึกมาก่อนถึง 2 มุมมองด้วยกัน มุมมองแรกเป็นเรื่องของ “ความหลากหลาย” ของประเภทกีฬาและมีนักกีฬาจากประเทศไทยที่มีความสามารถในระดับสูงจำนวนมาก มากกว่าครั้งที่ผ่าน ๆ มา ที่สามารถเข้าสู่เส้นทางการชิงเหรียญรางวัลในกีฬาโอลิมปิก ในมุมนี้ถือเป็นก้าวกระโดดใหญ่ของประเทศไทยเราอย่างมากเลยทีเดียว โดยวัดจากการที่มีจำนวนนักกีฬาหลายท่านและหลายประเภทที่สามารถคว้าแชมป์ในรายการที่สำคัญ เช่น ตำแหน่งแชมป์โลก หรือรายการใหญ่ ๆ ในการแข่งขันกีฬาประเภทอาชีพก่อนที่จะได้เข้าร่วมแข่งขันในกีฬาโอลิมปิกครั้งนี้ ถึงแม้ที่สุดแล้วจำนวนเหรียญรางวัลที่ประเทศไทยได้รับหรือประเภทกีฬาที่คว้าเหรียญรางวัลมาได้ อาจจะยังไม่แตกต่างจากเดิมมากนักก็ตาม แต่ก็ถือว่าการแข่งขันโอลิมปิกครั้งนี้ทำให้ผมเกิดความรู้สึกที่ดีเยี่ยมเลยทีเดียว และผลการแข่งขันหรือความรู้สึกร่วมที่เกิดขึ้นในระหว่างการแข่งขันในแต่ละครั้งก็จะกลายเป็นพื้นฐานที่สาคัญให้กับทีมกีฬาและนักกีฬารุ่นหลัง ๆ รวมไปถึงผู้มีส่วนเกี่ยวข้องใช้เป็นแนวทางในการพัฒนากีฬาในทุก ๆ ด้านให้ดียิ่งขึ้นไป และถือเป็นการเปิดมุมมองใหม่ให้กับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย นั่นคือ นักกีฬาไทยทุกคนก็มีสิทธิที่จะคว้าเหรียญรางวัลจากกีฬาประเภทต่าง ๆ ในโอลิมปิกได้ไม่แตกต่างจากชาติมหาอำนาจแต่อย่างใด หากเรามีการเตรียมความพร้อมในด้านการฝึกซ้อมที่ดีและการลงสนามแข่งขันอย่างต่อเนื่อง มุมมองที่สองและเป็นมุมมองที่ผมคิดว่าสามารถนำมาปรับใช้งานกับกีฬาสนุกเกอร์ได้ดีทีเดียว นั่นคือ เป็นเรื่องของ “การมีวิสัยทัศน์หรือเป้าหมายระยะยาว” ของตัวนักกีฬาเอง ผมได้เห็น “ศรัท สุ่มประดิษฐ์” นักกีฬายกน้ำหนักที่มีอายุเพียง 22 ปี (อายุยังน้อยมากเมื่อมองในแง่ของคนทำงาน) ที่แม้พลาดหวังจากการแข่งขันครั้งนี้โดยได้ที่ 4 พลาดเหรียญรางวัลไปเพียงแค่ 2 กิโลกรัม ได้ให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าวด้วยความเชื่อมั่นว่า “....เรื่องพลาดเหรียญไม่เป็นไร ผมเชื่อว่า จะสามารถพัฒนาตัวเองได้ อีก 4 ปี สาหรับโอลิมปิกที่ญี่ปุ่น น่าจะทำได้ดีกว่านี้อีก” นี่เป็นการแสดงให้เห็นถึงพัฒนาการของตัวนักกีฬาไทยที่มี “ความกล้า” ที่จะคาดการณ์ไปในอนาคตถึงการทำงานของตนเองว่าจะต้องทำให้ดีขึ้นและมีพัฒนาการที่ดีขึ้น มีเป้าหมายสุดท้ายคือการเข้าร่วมเพื่อไขว่คว้าเหรียญรางวัลในกีฬาโอลิมปิกครั้งถัดไป และมีระยะเวลาเป็นตัวชี้วัดในอีก 4 ปีข้างหน้า ถือเป็นพัฒนาการที่น่าสนใจเป็นอย่างมากครับ ซึ่ง “การตั้งเป้าหมายระยะยาว” หรือที่เราเรียกอีกอย่างว่า “วิสัยทัศน์” อย่างที่กล่าวถึงนั้นสมาคมบิลเลียดฯ ก็สามารถทาได้ไม่แตกต่างกันกับสมาคมกีฬาประเภทอื่น ๆ เลยครับ เช่น อาจจะตั้งเป้าหมายไว้ว่า “...ภายในปี 2020 กีฬาสนุ้กเกอร์ จะต้องได้รับการยกระดับมีสถานะเป็นกีฬาสากลที่ได้รับการส่งเสริมจากภาครัฐ” เพราะถ้าเราพิจารณาจากตัวกฎหมายแม่บท คือ (ร่าง) รัฐธรรมนูญ 2559 ที่พึ่งผ่านประชามติไป เราจะพบว่า มาตรา 71 ในหมวด “แนวนโยบายแห่งรัฐ (ก็คือ อะไรบ้างที่รัฐต้องทำ)” บัญญัติไว้ว่า “รัฐพึง...ส่งเสริมและพัฒนาการสร้างเสริมสุขภาพเพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพที่แข็งแรงและมีจิตใจเข้มแข็ง รวมตลอดทั้งส่งเสริมและพัฒนาการกีฬาให้ไปสู่ความเป็นเลิศและเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน” ซึ่งรัฐธรรมนูญก็เปรียบเสมือนแผนแม่บทของประเทศไทยที่สะท้อนให้เห็นถึงความคาดหวังของสังคมในช่วงเวลานั้น ๆ ว่าต้องการอะไร ในที่นี้หากเรา Focus ไปที่ส่วนนี้ คือ ในเรื่องของ “สถานะการเป็นกีฬาสากลที่ได้รับการส่งเสริมจากภาครัฐ” สมาคมบิลเลียดฯ ก็สามารถนามาใช้เป็นแนวทางในการตั้งเป้าหมายการดาเนินงานในอนาคตได้ และเมื่อเรามีเป้าหมายแล้วสิ่งต่าง ๆ ที่เราต้องทาก็จะตามมา เช่น งานที่ต้องทามีขอบเขตของงานเพียงใด (เช่น การประสานกับภาครัฐในการแก้ไขกฎหมายหรือระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ อย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง หรือการศึกษาดูงาน เช่น ที่ประเทศอังกฤษ) งานที่ต้องทำมีวิธีดำเนินการอย่างไร (เช่น การตั้งคณะทำงานเพื่อสำรวจเก็บข้อมูล หรือเพื่อติดตามความคืบหน้า หรือเพื่อร่วมในการร่างและแก้ไข ฯลฯ) แต่ละงานต้องแล้วเสร็จภายในเวลาเมื่อไร (ภาพรวม คือ 4 ปี หรือมากกว่านั้น) ไปจนถึงการรวบรวมข้อมูลหรือประเด็นปัญหาเชิงลึกเพื่อนามาปรับปรุงแก้ไข (ก็คือ “การสำรวจตลาด” เพื่อหาว่า อะไรคือประเด็นที่เราต้องรีบดำเนินการ หรือ อะไรคือประเด็นที่ยังไม่ต้องรีบร้อนแก้ไข) เป็นต้น หากมีโอกาสจะมาคุยกันใหม่ครับ สุรศักดิ์ อัครอารีสุข |