กติกาทั่วไปของการเล่น Pocket Billiards
กฏ-กติกา กีฬาสนุกเกอร์ของสมาคมกีฬาบิลเลียด และสนุกเกอร์อาชีพโลก WPBSA
กฏ-กติกา กีฬาบิลเลียดของสมาคมกีฬาบิลเลียด และสนุกเกอร์อาชีพโลก WPBSA
กฎ-กติกา กีฬาพูลบิลเลียด ของ World Pool-Billiards Association (WPA)
กติกาทั่วไปของการเล่น Pocket Billiards
กติกาพูล 9 ลูก ตามกฏของ BCA (Billiards Congress of America)
กติกาพูล 8 ลูก ตามกฏของ BCA (Billiards Congress of America)
กติกาการแข่งขันสนุกเกอร์ 6 แดง ที่ใช้ในการแข่งขันสนุกเกอร์ 6 แดง ชิงชนะเลิศแห่งเอเซีย ปี 2554
21. การทำฟาล์วจากการตั้งลูก
หากผู้เล่นไปแตะต้องลูกใดก็ตามบนโต๊ะ ในขณะที่ได้เล่นลูกจากในมือ ก็ถือเป็นการทำฟาล์วเช่นเดียวกัน
22. การแทงโดนลูก 2 ครั้ง
หากลูกคิวบอลไปอยู่ในตำแหน่งเป็นลูกติดกับลูกเป้า ผู้เล่นสามารถแทงเข้าไปหาลูกนั้นได้ หากการแทงนั้นเป็นการแทงปรกติ แต่หากไม้คิวมีการแทงโดนลูกเป้ามากกว่า 1 ครั้งในการแทงนั้นๆ หรือไม้คิวมีการกระทบกับลูกคิวบอลเมื่อ หรือหลังจากที่ลูกคิวบอลสัมผัสกับลูกเป้า ลูกนั้นจะถือเป็นลูกฟาล์ว ในกรณีที่มีลูกที่ 3 อยู่ใกล้ๆ ผู้เล่นควรเพิ่มความระมัดระวังในการทำฟาล์วตามที่ระบุไว้ในตอนแรกของกฏกติกานี้ด้วย
23. การแทงไม้ยาว
หากผู้เล่นแทงลูกคิวบอลแบบดันหัวคิวออกไป การแทงนั้นๆ ถือเป็นการแทงไม้ยาว เพราะการสัมผัสยังคงเกิดขึ้นระหว่างหัวคิวกับลูกคิวบอลเมื่อมีการออกคิวออกไป
24. ความรับผิดชอบของผู้เล่นต่อการทำฟาล์ว
ผู้เล่นต้องมีความระมัดระวังในการใช้อุปกรณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นชอล์คฝนหัว สะพานมือ ตะไบฝนหัวคิว หรืออุปกรณ์อื่นๆ ที่นำมาใช้ในการเล่น หากผู้เล่นทำชอล์คหล่นใส่ลูกบนโต๊ะ หรือทำหัวไม้เรสต์หลุด ผู้เล่นต้องรับผิดชอบในการกระทำนั้นด้วยถือเป็นการทำฟาล์ว ไม่ว่าจะมีผู้ตัดสินปฏิบัติหน้าที่อยู่หรือไม่ก็ตาม
25. การแทงลูกกระโดดแบบไม่ถูกกติกา
การแทงใต้ลูกแบบงัดลูกขึ้นมา เพื่อกระโดดข้ามลูกที่กีดขวางนั้นถือเป็นการแทงฟาล์ว การแทงกระโดดอาจถูกนำมาใช้ได้ในระหว่างการเล่น และแม้ว่าการแทงกระโดดนั้น อาจจะดูเหมือนไม่เป็นการทำฟาล์ว แต่บางครั้งก็อาจถูกจับเป็นลูกฟาล์วได้หากแทงไม่ถูกต้อง
26. การแทงลูกกระโดด
เว้นแต่กีฬาบางประเภท ที่อนุญาติให้ผู้เล่น แทงลูกกระโดดจากพื้นโต๊ะได้ ด้วยการยกด้ามคิวขึ้น แล้วแทงลูกคิวบอลลงไปหาพื้นโต๊ะ เพื่อให้ลูกคิวบอลกระโดดกลับพ้นพื้นโต๊ะขึ้นมา หากผู้เล่นแทงแป้ก ถือว่าเป็นการแทงฟาล์วได้เช่นกัน
27. การแทงลูกตกจากโต๊ะ
ลูกที่หยุดอยู่นอกบริเวณพื้นที่บนโต๊ะ ไม่ว่าจะเป็นบนขอบชิ่ง บนชิ่งยาง หรือบนพื้นก็ตาม ถือว่าเป็นลูกตกจากโต๊ะ ลูกอาจจะถูกแทงพ้นจากผิวโต๊ะได้โดยไม่ถือเป็นลูกผิดกติกา หากลูกนั้นกลับลงไปหยุดอยู่บนพื้นผิวของโต๊ะด้วยตนเอง แต่ต้องไม่ไปสัมผัสกับสิ่งอื่นรอบโต๊ะก่อน เช่น โคมไฟ ชอล์คที่วางไว้บนขอบโต๊ะ ก่อนกลับลงไปหยุดบนโต๊ะ ลูกเช่นนี้ถือเป็นลูกตกจากโต๊ะ
ในการเล่น Pocket Billiards ทุกประเภท หากมีการแทงลูกตกจากโต๊ะเกิดขึ้น ไม่ว่าในเกมใด ให้ถือว่าเป็นการทำฟาล์ว ลูกที่เกี่ยวข้องจะต้องนำกลับมาตั้ง ยกเว้นในพูล 9 ลูก กรุณาศึกษาข้อมูลย่อยของแต่ละเกม ในรายละเอียดปลีกย่อยต่อไป
28. โทษจากการทำฟาล์วโดยเจตนา
ลูกคิวบอล จะต้องไม่ถูกแทงด้วยอุปกรณ์อื่นใด นอกจากหัวคิวที่ปลายคิวที่ติดไว้เพื่อการนี้เท่านั้น (เช่นการเอาส่วนอื่นของไม้คิว กวาดลูกบนโต๊ะ) หากผู้ตัดสินเห็นว่าผู้เล่นมีเจตนาที่จะกระทำผิด ผู้ตัดสินจะทำการตักเตือนว่าหากผู้เล่นยังกระทำผิดด้วยเจตนาอีกเป็นครั้งที่สอง ระหว่างการแข่งขันในแมตช์นั้น ผู้เล่นจะต้องถูกปรับแพ้ในแมตช์นั้นได้ทันที
29. การจำกัดจานวนการทำฟาล์ว
การทำฟาล์วของผู้เล่นในแต่ละไม้ แม้จะมีมากกว่า 1 กรณี ก็ให้ถือว่าเป็นการทำฟาล์วเพียง 1 ครั้งในแต่ละเที่ยวแทง ยกเว้นในเกมบางเกมที่ระบุแยกไว้เป็นกรณีพิเศษ และการลงโทษให้ลงโทษผู้เล่นในกรณีการทำฟาล์วสูงสุดที่เกิดขึ้น
30. ลูกที่เคลื่อนไหวเอง
ลูกที่มีการเคลื่อนไหว หรือขยับตำแหน่งด้วยตัวเอง ผู้ตัดสินไม่จำเป็นต้องนำลูกกลับมาตั้งในจุดเดิม แล้วให้เกมดำเนินต่อไปได้ ลูกที่ห้อยอยู่ปากหลุมเกินกว่า 5 วินาทีแล้วหล่นลงหลุมไป ให้นำกลับมาตั้งที่ปากหลุมใหม่
หากลูกที่ไปค้างอยู่ที่ปากหลุม หล่นลงหลุมไปเองหลังผู้เล่นออกคิว แล้วลูกที่แทงไปมีโอกาสไปกระทบลูกที่ห้อยอยู่แต่หล่นลงไปทำให้มีผลให้เกิดการเปลี่ยนทิศทางของลูกอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องได้ ให้นำลูกคิวบอล และลูกที่หล่นลงหลุมไปกลับมาตั้งใหม่ แล้วให้ผู้เล่นเล่นใหม่อีกครั้ง และหากมีลูกอื่นใดที่เคลื่อนไหวไปในการเล่นไม้นั้น ให้ผู้ตัดสินพยายามนำลูกทุกลูกกลับไปตั้งใหม่ให้หมดด้วย
31. การตั้งลูกที่จุด
กติกาของเกมบางเกม อาจมีการให้นำลูกกลับมาตั้งใหม่ที่จุดเพื่อเล่นต่อไปได้ ให้นำลูกมาตั้งบนจุดที่เป็นเส้นตรงกับจุด Foot Spot หากมีลูกที่ต้องนำกลับมาตั้งเพียงลูกเดียว ให้ตั้งบนจุด Foot Spot ได้เลย หากมีลูกที่ต้องนำกลับมาตั้งเกินกว่า 1 ลูก ให้นำลูกมาตั้งเป็นเส้นตรง เริ่มจากจุด Foot Spot เข้ามาหาชิ่งบน โดยเรียงตามลาดับของตัวเลขบนลูกนั้น ๆ
หากมีลูกตั้งบนจุด Foot Spot หรือบนเส้นดังกล่าว ไม่สามารถตั้งลูกในตำแหน่งนั้นได้ ให้ตั้งลูกในตาแหน่งที่ถัดมาให้ใกล้กับจุด Foot Spot ให้มากที่สุด โดยไม่สัมผัสกับลูกที่เกะกะอยู่ ลูกที่นำมาตั้ง จะต้องตั้งให้ใกล้กับตาแหน่งและลูกที่กีดขวางอยู่ให้มากที่สุด (หรืออาจจะติดกันโดยดุลยพินิจของผู้ตัดสิน) ยกเว้นว่าลูกที่ขวางเป็นลูกคิวบอล ให้ตั้งลูกให้ใกล้กับลูกคิวบอลให้มากทุ่ด โดยไม่สัมผัสกับลูกคิวบอล
หากมีเนื้อที่ไม่มากพอบนเส้นตรงจากจุด Foot Spot มายังชิ่งบนสำหรับลูกที่ต้องนำกลับมาตั้ง ให้นำลูกมาตั้งเป็นแนวเส้นตรงฝั่งตรงข้ามกับจุด Foot Spot เหลื่อมมาทางชิ่งล่าง โดยให้ลูกที่มีตัวเลขน้อยที่สุด อยู่ใกลักับจุด Foot Spot มากที่สุดเป็นลาดับ
32. ลูกปากหลุม
หากมีลูก 2 ลูก หรือมากกว่าอัดกันอยู่ปากหลุมหรือข้างหลุม หรือมีบางลูกถูกดันขึ้นมาพ้นพื้นโต๊ะไม่สามารถขยับออกไปได้ ผู้ตัดสินจะต้องสำรวจตำแหน่งของลูกที่เกี่ยวข้องแล้วปฏิบัติตามขั้นตอนต่อไปนี้
- - ผู้ตัดสินต้องพิจารณาด้วยสายตา หรืออาจขยับดูทิศทางของลูกในตำแหน่งที่ล็อคติดกัน ว่าจะมีลูกใดบ้างที่อาจจะหล่นลงหลุมไปได้ หากมี ให้ถือว่าลูกนั้นเป็นลูกลงหลุม โดยให้ลูกอื่นที่เหลือสามารถอยู่ในตำแหน่งได้ตามดุลยพินิจของผู้ตัดสิน แล้วให้ดำเนินเกมต่อไปโดยเปรียบเสมือนว่าไม่เกิดการตัดขัดปากหลุมขึ้น
33. ลูกอื่นๆ ที่ลงหลุมเพิ่ม
หากมีลูกที่ถูกตบลงหลุมไปมากกว่า 1 ลูกโดยไม่ผิดกติกา ให้ถือว่าลูกนั้นเป็นลูกที่ลงหลุมไป ให้สอดคล้องตามกติกาของเกมนั้นๆ
34. การถูกรบกวนโดยผู้อื่น
หากลูกมีการถูกกระทำให้เคลื่อนไหว โดยบุคคลที่ 3 ที่ไม่เกี่ยวข้องกับกับคู่แข่งขัน (หรือมีการเดินชนของผู้เล่นโต๊ะข้าง ๆ) ให้ผู้ตัดสินขยับลูกกลับมาที่ตำแหน่งที่คิดว่าใกล้ตำแหน่งเดิมมากที่สุด แล้วให้ผู้เล่นเล่นต่อไปโดยไม่มีการลงโทษ กติกาข้อนี้ มีผลกับการเคลื่อนไหวทางธรรมชาติที่อาจเกิดขึ้นด้วย เช่น การเกิดแผ่นดินไหว พายุ โคมไฟหล่น หรือไฟฟ้าขัดข้อง เป็นต้น หากลูกที่เคลื่อนไหวไม่สามารถนำกลับมาตั้งใหม่ให้ใกล้เคียงได้ ให้เล่นเกมนั้นใหม่อีกครั้ง โดยให้ผู้เปิดเกมยังเป็นผู้เล่นคนเดิมในเกมที่เล่นใหม่อีกครั้ง
35. เที่ยวแทงของการแทงลูกเปิด
ในแมตช์ที่มีการแข่งขันแบบเกมสั้น แทนที่จะให้ผู้เล่นที่ชนะในเกมล่าสุดเป็นฝ่ายเปิดต่อไปแบบต่อเนื่อง ผู้อำนวยการจัดการแข่งขัน อาจมีการตั้งกฏระเบียบใหม่ไว้ล่วงหน้า ดังนี้
- ให้ผู้เล่นผลัดกันเปิดเกมในเกมต่อไป
- ให้ผู้แพ้เป็นผู้เปิดในเกมต่อไป
- ให้ผู้เล่นที่มีคะแนนเกมตามหลังเป็นผู้เปิดในเกมต่อไป
36. เที่ยวแทงในการเล่น
เที่ยวแทงในการเล่น จะสิ้นสุดลงเมื่อผู้เล่นตบลูกไม่ลง หรือกระทำฟาล์ว หรือชนะการแข่งขันในเกมนั้น ผู้เล่นคนต่อไปจะต้องเล่นจากตำแหน่งที่ลูกยืนอยู่หลังหมดเที่ยวแทง ในกรณีที่ไม่มีการทำฟาล์วเกิดขึ้น
37. ลูกติดชิ่ง หรือลูกติดกัน
กติกาข้อนี้ กำหนดไว้ในกรณีที่ลูกคิวบอลเป็นลูกติดกับลูกหนึ่งลูกใดบนโต๊ะ หรือติดอยู่กับชิ่ง หลังจากที่ลูกคิวบอลได้สัมผัสกับลูกเป้าที่ติดกันอยู่ไปแล้ว จะต้องมีผลที่ตามมาดังนี้
- มีลูกถูกตบลงหลุมไป หรือ
- ลูกคิวบอลกระทบกับชิ่ง หรือ
- ลูกที่ติดไปกระทบกับชิ่ง (อาจจะสะท้อนกลับจากชิ่งที่ตำแหน่งลูกติดอยู่ก็ได้) หรือ
- มีลูกเป้าอีกลูก วิ่งไปกระทบกับชิ่งอื่นที่ไม่ใช่ชิ่งที่ลูกติดอยู่เดิม
การกระทำนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น ถือว่าเป็นการทำฟาล์ว
ลูกเป้าลูกนั้นจะไม่นับว่าเป็นลูกติดชิ่ง จนกว่าจะได้รับพิจารณาและระบุโดยผู้ตัดสิน หรือผู้เล่นคนใดคนหนึ่ง ว่าเป็นลูกติดชิ่งก่อนการออกคิวจะเกิดขึ้น
38. การเล่นลูกจากบริเวณหลังเส้นเมือง
เมื่อผู้เล่นได้เล่นลูกในมือ จากบริเวณในเมือง ผู้เล่นจะต้องแทงลูกคิวบอลออกจากบริเวณในเมือง ก่อนที่จะไปกระทบชิ่ง หรือลูกเป้า หากผิดพลาดจากนี้ถือว่าเป็นการทำฟาล์ว หากไม่มีผู้ตัดสินชี้ขาด ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามมีสิทธิ์ที่จะเรียกฟาล์ว หรือให้ผู้เล่นเล่นใหม่อีกครั้ง โดยนำลูกกลับไปตั้งที่ตำแหน่งเดิม โดยไม่มีการปรับฟาล์ว
ข้อยกเว้น: หากลูกเป้าอยู่ในตำแหน่งบนเส้นเมือง หรืออยู่นอกเส้นเมือง (ซึ่งสามารถเล่นได้) แต่อยู่ใกล้ลูกคิวบอลมากจนลูกคิวบอลอาจกระทบกับลูกเป้าก่อนออกจากเส้นเมืองได้ ให้ถือว่าเป็นลูกที่ไม่ผิดกติกา
ถ้าผู้เล่นวางลูกจากในมือหลังเส้นเมือง พยายามจะเล่นลูกที่ไม่ผิดกติกา แต่บังเอิญลูกคิวบอลไปกระทบลูกอื่นทียังอยู่ในเมือง และลูกคิวบอลหลุดออกมานอกเส้นเมือง ลูกนี้ถือเป็นลูกผิดกติกาในกรณีเดียวกัน ถ้าลูกคิวบอลไม่ออกมาจากตำแหน่งในเมือง ให้ปฏิบัติตามข้อต่อไปนี้
- ผู้เล่นคนต่อไป สามารถขานเป็นลูกฟาล์วได้ และได้เล่นลูกจากในมือ หรือ
- นำลูกกลับไปตั้งที่จุดเดิม และให้ผู้เล่นตรงข้าม เล่นใหม่อีกครั้งหนึ่ง
ในกรณีเดียวกัน หากผู้เล่นเจตนาที่จะให้ลูกคิวบอลไปโดนลูกอื่นที่ยังอยู่ในเมือง จะถือว่าเป็นการเล่นผิดมารยาท
39. การทำฟาล์วในขณะที่ได้เล่นจากในมือ
ผู้เล่นสามารถใช้มือ หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของไม้คิว ในการวางตำแหน่งของลูกที่ได้เล่นจากในมือลงบนโต๊ะได้ แต่หากผู้เล่นใช้หัวคิวไปสัมผัสลูกคิวบอลในขณะสาวคิว จะถือเป็นการทำฟาล์วทันที
40. การรบกวน
หากผู้เล่นไปรบกวนการเล่นของคู่แข่งขัน ถือว่าเป็นการทำฟาล์วเช่นกัน หากผู้เล่นเล่นผิดเที่ยวแทง หรือไปทำให้ลูกบอลเคลื่อนไหว โดยไม่ได้อยู่ในเที่ยวแทงของตนเอง จะถือว่าเป็นการกระทำที่รบกวนคู่แข่งขัน
41. อุปกรณ์ต่าง ๆ
ผู้เล่นไม่สามารถนำลูก หรืออุปกรณ์ใดๆ มาวัดขนาดของช่องว่าลูกสามารถผ่านไปได้หรือไม่ ผู้เล่นสามารถใช้ไม้คิวช่วยในการเล็งหรือกะระยะความห่างได้เท่านั้น ตราบใดที่คิวยังอยู่บนมือ การกระทำที่นอกเหนือจากนี้ ถือเป็นการเล่นที่ไม่เป็นสุภาพบุรุษ
42. การกำหนดจุดที่ผิดกติกา
หากผู้เล่นเจตนาทำจุดหรือมีการมาร์คจุดใดๆ เพื่อช่วยในการเล็งเหลี่ยมหรือช่วยในการเล่น ไม่ว่าจะเป็นการใช้ผ้าเปียกสร้างจุดบนขอบโต๊ะ หรือการเจตนาวางชอล์คฝนหัวคิวในตำแหน่งที่เป็นประโยชน์กับการเล่น ถือเป็นการทำฟาล์ว ยกเว้นผู้เล่นลบจุดที่ทำไว้ ก่อนที่จะออกคิวเท่านั้น