กฏ-กติกา กีฬาสนุกเกอร์ของสมาคมกีฬาบิลเลียด และสนุกเกอร์อาชีพโลก WPBSA
กฏ-กติกา กีฬาสนุกเกอร์ของสมาคมกีฬาบิลเลียด และสนุกเกอร์อาชีพโลก WPBSA
กฏ-กติกา กีฬาบิลเลียดของสมาคมกีฬาบิลเลียด และสนุกเกอร์อาชีพโลก WPBSA
กฎ-กติกา กีฬาพูลบิลเลียด ของ World Pool-Billiards Association (WPA)
กติกาทั่วไปของการเล่น Pocket Billiards
กติกาพูล 9 ลูก ตามกฏของ BCA (Billiards Congress of America)
กติกาพูล 8 ลูก ตามกฏของ BCA (Billiards Congress of America)
กติกาการแข่งขันสนุกเกอร์ 6 แดง ที่ใช้ในการแข่งขันสนุกเกอร์ 6 แดง ชิงชนะเลิศแห่งเอเซีย ปี 2554
หมวดที่ 4 - ผู้เล่น (The Players)
1. การถ่วงเวลา (Time Wasting)
หาก “ผู้ตัดสิน” เห็นว่า ผู้เล่นใช้เวลามากเกินความจำเป็น ในการเลือกเล่นแต่ละครั้ง “ผู้ตัดสิน” สามารถเตือนให้ผู้เล่นทราบว่า เขาอาจถูกปรับแพ้ในเฟรมนั้นได้ หากยังไม่เปลี่ยนแปลงการเล่นให้เร็วขึ้น
2. การเล่นไม่สุภาพ (Unfair Conduct)
หากผู้เล่นปฎิเสธการเล่น หรือมีเจตนาเล่นไม่เป็นธรรม ทั้งที่ได้รับการตักเตือนจาก “ผู้ตัดสิน” อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการเล่นถ่วงเวลาตาม ข้อที่ 1 ข้างต้น หรือแสดงกิริยาไม่สุภาพ ผู้เล่นอาจถูกปรับแพ้ใน “เฟรมการเล่น” นั้น และ “ผู้ตัดสิน” จะตักเตือนอีกว่า หากยังคงมีพฤติกรรมดังกล่าวต่อไป เขาอาจถูกปรับแพ้ในการแข่งขันได้
3. การลงโทษ
- หาก “เฟรมการเล่น”
ถูกยกเลิกด้วยกรณีข้างต้น ผู้ถูกลงโทษจะ
- ถูกปรับแพ้ใน “เฟรมการเล่น” นั้น
- ถูกยกเลิกคะแนนทั้งหมดที่ได้รับใน “เฟรมการเล่น” นั้น และคู่กรณีจะได้รับคะแนนรวมที่ยังเหลือบนโต๊ะ โดยให้ลูกสีแดงแต่ละลูกมีค่าคะแนนเท่ากับแปดคะแนน และลูกสีใดที่ถูกแทงออกจากโต๊ะอย่างไม่ถูกต้อง ต้องนำมานับคะแนนด้วย
- หาก “เกมการเล่น”
ถูกยกเลิกด้วยกรณีข้างต้น ผู้ถูกลงโทษจะ
- ถูกปรับแพ้ใน “เฟรมการเล่น” ดังกล่าวตามข้อ 3.1 และ
- ถูกปรับแพ้ใน “เฟรมการเล่น” ที่เหลือจนกว่าจะถึงจำนวนที่ระบุว่ามีผู้ชนะ หรือ
- ถูกปรับแพ้ใน “เฟรมการเล่น” ที่เหลือทั้งหมด โดยผู้ชนะได้รับคะแนนรวมต่อ “เฟรมการเล่น” ที่เหลือเฟรมละ 147 คะแนน ในกรณีที่มีการนำคะแนนทั้งหมดมามีผลในการนับคะแนนรวม
4. ผู้ที่ไม่อยู่ในเที่ยวแทง (Non-Striker)
“ผู้ที่ไม่อยู่ในเที่ยวแทง” ต้องหลีกเลี่ยงที่จะอยู่ในสายตาของ “ผู้แทง” ในขณะที่ “ผู้แทง” กำลังเล่น โดยต้องกลับมาประจำที่ยังที่นั่งของตน และให้อยู่ในระยะที่ห่างจากโต๊ะพอสมควร
5. การออกจากห้องแข่งขัน (Absence)
หากผู้เล่นมีความจำเป็นต้องออกจากห้องแข่งขัน “ผู้ไม่อยู่ในเที่ยวแทง” สามารถแต่งตั้งตัวแทนเพื่อดูแลผลประโยชน์ของตน และประท้วงได้หากมี “การทำฟาล์ว” เกิดขึ้น ซึ่งจะต้องแจ้งการแต่งตั้งตัวแทนนั้นให้ผู้ตัดสินรับทราบ ก่อนออกจากห้องแข่งขัน
6. การยอมแพ้ (Conceding)
- ผู้เล่นสามารถยอมแพ้ได้ต่อเมื่อถึงเที่ยวแทงของตนเท่านั้น ซึ่งผู้เล่นตรงข้ามมีสิทธิ์ปฎิเสธได้ หากยังต้องการเล่นต่อไป
- หากมีการนับคะแนนรวมของ “เฟรมการเล่น” และมีผู้ใดยอมแพ้ ผู้ชนะจะได้รับคะแนนที่เหลือบนโต๊ะทั้งหมด โดยลูกสีแดงแต่ละลูกที่เหลือจะมีค่าคะแนนเท่ากับแปดคะแนน และให้นำคะแนนของลูกสีที่ถูกแทงออกจากโต๊ะอย่างผิดกติกามารวมด้วย