กฏ-กติกา กีฬาสนุกเกอร์ของสมาคมกีฬาบิลเลียด และสนุกเกอร์อาชีพโลก WPBSA
กฏ-กติกา กีฬาสนุกเกอร์ของสมาคมกีฬาบิลเลียด และสนุกเกอร์อาชีพโลก WPBSA
กฏ-กติกา กีฬาบิลเลียดของสมาคมกีฬาบิลเลียด และสนุกเกอร์อาชีพโลก WPBSA
กฎ-กติกา กีฬาพูลบิลเลียด ของ World Pool-Billiards Association (WPA)
กติกาทั่วไปของการเล่น Pocket Billiards
กติกาพูล 9 ลูก ตามกฏของ BCA (Billiards Congress of America)
กติกาพูล 8 ลูก ตามกฏของ BCA (Billiards Congress of America)
กติกาการแข่งขันสนุกเกอร์ 6 แดง ที่ใช้ในการแข่งขันสนุกเกอร์ 6 แดง ชิงชนะเลิศแห่งเอเซีย ปี 2554
หมวดที่ 2 - คำนิยาม (Definitions)
1. เฟรมการเล่น (Frame)
“เฟรมการเล่น” ของกีฬาสนุกเกอร์ จะเริ่มนับจาก “การแทง” เปิดในไม้แรกของผู้เล่น โดยลูกสนุกเกอร์ทุกลูกตั้งอยู่ที่จุดต่างๆ ตามที่ได้ระบุไว้ใน หมวดที่ 3 ข้อ 2 และ “เฟรมการเล่น” จะจบสิ้นลงเมื่อ
- ผู้เล่นฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดยอมแพ้ เมื่อถึงเที่ยวแทงของตน
- “ผู้แทง” ที่มีคะแนนนำเกินฝ่ายตรงข้ามกว่า 7 แต้ม สามารถยุติการเล่นใน “เฟรมการเล่น” นั้นลงได้ หากเหลือลูกดำบนโต๊ะเพียงลูกเดียว ซึ่งจะทำให้คะแนนที่เหลือบนโต๊ะไม่เพียงพอที่จะทำให้ฝ่ายตรงข้ามสามารถตีเสมอหรือเอาชนะได้
- การตบลูกที่เหลือบนโต๊ะลูกสุดท้ายลง หรือ “การทำฟาล์ว” ในขณะที่เหลือเพียงลูกดำบนโต๊ะเพียงลูกสุดท้าย หรือ
- ผู้ตัดสินประกาศให้ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเป็นผู้ชนะตามกฎที่ระบุไว้ใน หมวดที่ 3 ข้อ 14.3 หรือใน หมวดที่ 4 ข้อ 2
2. เกม (Game)
การเล่น หนึ่ง “เกม” จะประกอบไปด้วยจำนวน “เฟรมการเล่น” ตามที่ได้กำหนด หรือ ได้มีการตกลงกันไว้
3. แมตช์ (Match)
การเล่น หนึ่ง “แมตช์” จะประกอบไปด้วยจำนวน “เกม” ตามที่ได้กำหนด หรือได้มีการตกลงกันไว้
4. ลูกบอล หรือลูกสนุกเกอร์ (Balls)
- ลูกขาว เรียกว่า “ลูกคิวบอล”
- ลูกสีแดง 15 ลูก และลูกสีอื่นๆ อีก 6 ลูก เรียกว่า “ลูกเป้า”
5. ผู้แทง และ เที่ยวแทง (Striker and Turn)
“ผู้เล่น” ที่กำลังเล่น หรืออยู่ในระหว่างการเล่น ถือว่ายังเป็น “ผู้เล่น” จนกว่าจะจบการแทงครั้งสุดท้าย ได้กระทำฟาล์ว ซึ่งหมายถึงเที่ยวแทงนั้นได้จบสิ้นลง โดยผู้ตัดสินรับทราบ และเห็นว่า “ผู้เล่น” ได้เดินออกจากโต๊ะไปแล้ว หาก “ผู้เล่นที่ไม่ได้อยู่ในเที่ยวแทง” (a non-striker) เดินมาที่โต๊ะ ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้อยู่ในเที่ยวแทง และได้กระทำฟาล์วขึ้น ผู้ตัดสินจะถือว่า “ผู้เล่น” นั้น เป็นเสมือน “ผู้เล่นในเที่ยวแทง” และจะต้องถูกปรับแต้มเช่นเดียวกับ “ผู้ที่อยู่ในเที่ยวแทง” ทุกประการ ก่อนเขาจะเดินออกจากโต๊ะไป เมื่อผู้ตัดสินได้เห็นว่า การทำฟาล์วที่เกิดขึ้น ได้มีการตัดสินลงโทษ “ผู้ทำฟาล์ว” ไปเรียบร้อยแล้ว ผู้เล่นคนต่อไปจึงจะออกมาเล่นต่อไปได้ เที่ยวแทงและสิทธิในการเล่น จะจบลงเมื่อ
- ไม่สามารถทำคะแนนในการเล่นได้ หรือ
- ได้กระทำการฟาล์วขึ้น หรือ
- ปฏิเสธการเล่น โดยให้ “ผู้เล่นที่ทำฟาล์ว” เล่นต่อไปจากตำแหน่งที่ลูกยืนอยู่
6. การแทง (Stroke)
- “การแทง” จะเกิดขึ้นเมื่อ “ผู้เล่น” ได้แทง “ลูกคิวบอล” ออกไปด้วยหัวคิวที่ติดอยู่ปลายไม้คิว
- “การแทง” จะไม่ถือว่าผิดกติกา หากไม่มีการกระทำที่ผิดกฏข้อใดข้อหนึ่งเกิดขึ้น
- “การแทง”
จะไม่ถือว่าได้จบสิ้นลง จนกว่า
- ลูกทุกลูกวิ่งมาหยุดอยู่กับที่
- “ผู้เล่น” ได้ยืนขึ้นจากตำแหน่งที่ก้มลงแทง และพร้อมที่จะแทงต่อไป หรือเดินออกจากโต๊ะ
- อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ “ผู้เล่น” นำมาใช้ในการแทง ได้ถูกนำออกจากพื้นที่ในการแทงเรียบร้อยแล้ว และ
- “ผู้ตัดสิน” ได้ทำการขานคะแนนที่เกิดขึ้นในไม้นั้นเสร็จเรียบร้อย
- “การแทง” อาจเกิดขึ้นทั้ง
“ทางตรง” และ “ทางอ้อม”
ดังนี้
- การแทง “ทางตรง” จะเกิดขึ้นเมื่อ “ลูกคิวบอล” วิ่งไปกระทบ “ลูกเป้า” โดยไม่สัมผัสกับคุชชั่นก่อน
- การแทง “ทางอ้อม” จะเกิดขึ้นเมื่อ “ลูกคิวบอล” มีการสัมผัสกับคุชชั่นก่อนที่จะไปกระทบ “ลูกเป้า”
- หลังจากเที่ยงแทงของ “ผู้เล่น” สิ้นสุดลง หาก “ผู้เล่น” ที่อยู่ในเที่ยวแทงคนต่อไปมีการแทง “ลูกคิวบอล” ออกไปก่อนที่ลูกอื่น ๆ บนโต๊ะจะหยุดอยู่กับที่ จะถือว่า “ผู้เล่น” ที่เข้ามาใหม่นั้นได้กระทำฟาล์ว เช่นเดียวกับเป็น “ผู้เล่นในเที่ยวแทง” และจะทำให้เที่ยวแทงของเขาสิ้นสุดลงทันที
7. การตบลูก (Pot)
“การตบลูก” หมายถึงการที่ “ลูกเป้า” หลังจากถูกกระทบโดยลูกหนึ่งลูกใด โดยไม่มีการผิดกฎ และกติกาใดๆ แล้วลงหลุมไป การแทงลูกลงหลุม สามารถเรียกได้อีกกรณีหนึ่งคือ “การตบลูก” นั่นเอง
8. การทำเบรค (Break)
“การทำเบรค” คือจำนวนของ “การตบลูก” อย่างต่อเนื่องของผู้เล่นในหนึ่งเที่ยวแทงระหว่างการเล่นในแต่ละ “เฟรม”
9. ลุกในมือ (In-hand)
- “ลูกคิวบอล” จะเป็น “ลูกในมือ” เมื่อ
- ก่อนเริ่มทำการเล่นในแต่ละ “เฟรม”
- เมื่อ “ลูกคิวบอล” เกิดตกลงไปในหลุม
- เมื่อ “ลูกคิวบอล” กระเด็นออกจากโต๊ะ
- “ลูกคิวบอล”
จะยังถือว่าเป็น “ลูกในมือ”
จนกระทั่ง
- ได้ถูกแทงอย่างไม่ผิดกติกาจากตำแหน่ง “ในมือ” หรือ
- ได้มี “การทำฟาล์ว” เกิดขึ้น ขณะที่ “ลูกคิวบอล” อยู่บนโต๊ะ
- “ผู้แทง” จะถือว่าได้ลูก “ในมือ” เมื่อ “ลูกคิวบอล” เป็น “ลูกในมือ” ตามที่ได้ระบุมาข้างต้น
10. ลูกในขณะเล่น (Ball in Play)
- “ลูกคิวบอล” จะถือว่าเป็น “ลูกในขณะเล่น” ในขณะที่ไม่ใช่ “ลูกในมือ”
- “ลูกเป้า” จะถือว่าเป็น “ลูกในขณะเล่น” นับตั้งแต่การเปิด “เฟรม” จน “ลูกเป้า” ลูกนั้น จะถูก “แทงลงหลุม” หรือ “แทงออกจากโต๊ะ” โดยไม่ต้องนำกลับมาตั้งอีก
- “ลูกสี” ต่างๆ จะถูกเรียกว่าเป็น “ลูกในขณะเล่น” อีก เมื่อได้ถูกนำกลับมาตั้งที่จุดของตนใหม่
11. ลูกในเที่ยวแทง (Ball On)
“ลูกในเที่ยวแทง” หมายถึง ลูกที่สามารถถูกกระทบโดย “ลูกคิวบอล” เป็นอันดับแรก หรือลูกใดก็ตาม ที่อาจจะไม่ได้ถูกกระทบเป็นอันดับแรก แต่สามารถถูก “ตบลูก” ให้ลงหลุมไปได้ จะถือได้ว่าเป็น “ลูกในเที่ยวแทง”
12. ลูกที่เลือกแทง (Nominated Ball)
- “ลูกที่เลือกแทง” คือ “ลูกเป้า” ที่ “ผู้แทง” ได้เลือก และแสดงความจำนงต่อ “ผู้ตัดสิน” จนเป็นที่พอใจ ว่าจะเป็นลูกที่เขาต้องการแทง “ลูกคิวบอล” ไปกระทบเป็นอันดับแรก
- “ผู้แทง” ต้องชี้แจงให้ “ผู้ตัดสิน” รับทราบถึง “ลูกที่เลือกแทง” ว่าลูกใดเป็น “ลูกในเที่ยวแทง” เมื่อ “ผู้ตัดสิน” ต้องการให้มีการชี้แจง
13. ลูกฟรีบอล (Free Ball)
“ลูกฟรีบอล” เป็นลูกที่ “ผู้แทง” ระบุ “ลูกที่เลือกแทง” เป็น “ลูกเป้า” เมื่อมีการ “วางสนุกเกอร์” หลัง “การทำฟาล์ว” (ดูหมวดที่ 3 ข้อ 10)
14. ลูกตกจากโต๊ะ (Forced Off the Table)
“ลูกตกจากโต๊ะ” หมายถึง ลูกที่เมื่อหยุดเคลื่อนไหวแล้ว ไม่ได้หยุดอยู่บนพื้นสักหลาดของโต๊ะ หรืออยู่ในหลุม หรือเป็นลูกที่ถูก “ผู้แทง” หยิบขึ้นจากโต๊ะในขณะที่ยังคงสภาพเป็น “ลูกในขณะเล่น” นอกเหนือจากที่ได้ระบุไว้ใน หมวดที่ 3 ข้อ 14.8
15. การทำฟาล์ว (Foul)
“การทำฟาล์ว” หมายถึง การกระทำใดๆ ที่ไม่ถูกต้องตามกฎ-กติกาที่ระบุไว้ในที่นี้
16. การวางสนุกเกอร์ (Snookered)
“ลูกคิวบอล” จะถือว่า ได้ลูก “วางสนุกเกอร์” เมื่อ “ผู้แทง” ไม่สามารถแทง “ลูกเป้า” ลูกใดลูกหนึ่งก็ตามได้ “โดยทางตรง” เนื่องจากถูกบังด้วยลูกที่ไม่เป็น “ลูกในเที่ยวแทง” ไม่ว่าการบังดังกล่าว จะเป็นการบังเพียงส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือเป็นการบังทั้งลูก
หาก “ลูกในเที่ยวแทง” ลูกหนึ่งลูกใด หรือมากกว่าหนึ่งลูกก็ตาม สามารถแทงให้ถูกได้ในจุดที่บางที่สุดทั้งด้านซ้าย และด้านขวาของลูก โดยมิได้ถูกบังจาก ลูกที่ไม่ได้อยู่ในเที่ยวแทง ให้ถือว่า “ลูกคิวบอล” ลูกนั้น ไม่เป็นลูกที่ถูก “วางสนุกเกอร์”
- ในขณะที่เป็น “ลูกในมือ” “ลูกคิวบอล” จะถือว่าเป็นลูกที่ถูก “วางสนุกเกอร์” หากยังคงถูกบังในกรณีดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น แม้ว่าจะวางลูกลงในตำแหน่งใดๆ ที่สามารถวางได้ในบริเวณ “ครึ่งวงกลม” แล้วก็ตาม
- ในกรณีที่ “ลูกคิวบอล”
ได้ถูกบัง ทำให้ไม่สามารถแทง “ลูกในเที่ยวแทง”
ได้ ด้วยลูกที่ไม่ได้อยู่ในเที่ยวแทงมากกว่าหนึ่งลูก
- ลูกที่อยู่ในตำแหน่งใกล้ “ลูกคิวบอล” มากที่สุด ให้ถือว่าเป็นลูกที่มีผลต่อการ “วางสนุกเกอร์” และ
- ในกรณที่มีลูกที่ใกล้ “ลูกคิวบอล” มากที่สุดเกินกว่าหนึ่งลูก ในระยะที่เท่าๆ กัน ให้ถือว่าลูกดังกล่าวทั้งหมด มีผลต่อการ “วางสนุกเกอร์” เช่นกัน
- ในกรณีที่ ลูกสีแดง เป็น “ลูกในเที่ยวแทง” แล้วมีลูกสีแดงลูกอื่น ถูกลูกที่ไม่ได้อยู่ในเที่ยวแทง ไม่ว่าเป็นจำนวนหนึ่งลูก หรือมากกว่าเข้ามาบัง ทำให้ไม่สามารถแทงให้ถูกลูกสีแดงลูกนั้นด้วย “ลูกคิวบอล” ได้ ไม่ให้ถือว่าเป็นกรณีที่มี่ผลในการ “วางสนุกเกอร์”
- “ผู้แทง” จะเรียกได้ว่า ถูก “วางสนุกเกอร์” ในกรณีที่เขาถูก “วางสนุกเกอร์” ตามรายละเอียดที่ระบุมาข้างต้น
- “ลูกคิวบอล” จะไม่ถือว่าเป็นลูกที่ถูก “วางสนุกเกอร์” ด้วยการถูกบังด้วยขอบชิ่ง ในกรณีที่ “ผู้แทง” ไม่สามารถแทงให้ถูก “ลูกในเที่ยวแทง” ได้ “โดยทางตรง” เนื่องจากถูกบังโดยส่วนโค้งส่วนใดส่วนหนึ่งของขอบชิ่ง และขอบชิ่งนั้นอยู่ในตำแหน่งที่ใกล้ “ลูกคิวบอล” มากกว่าลูกที่ไม่ได้อยู่ในเที่ยวแทงที่เข้ามาบัง “ลูกในเที่ยวแทง” ให้ถือว่า เป็นลูกที่ไม่มีผลในการ “วางสนุกเกอร์”
17. ตำแหน่งจุดตั้งลุกไม่ว่าง (Spot Occupied)
ตำแหน่งจุดตั้งลูก ให้ถือว่าเป็น “ตำแหน่งไม่ว่าง” ในกรณีที่ไม่สามารถนำลูกสี กลับมาตั้งบนตำแหน่งของตนเอง โดยไม่แตะต้องลูกอื่นๆ ได้
18. การแทงไม้ยาว (Push Stroke)
การแทงไม้ยาว หมายถึง การที่หัวคิว ยังคงสัมผัสกับ “ลูกคิวบอล”
- หลังจากที่ “ลูกคิวบอล” ได้แทงออกไปข้างหน้าเรียบร้อยแล้ว หรือ
- ในขณะที่ “ลูกคิวบอล” ได้กระทบ “ลูกเป้า” ยกเว้นในกรณีที่ “ลูกคิวบอล” และ “ลูกเป้า” อยู่ในตำแหน่งที่เกือบจะติดกัน จะไม่ถือว่าเป็น “การแทงไม้ยาว” หาก “ลูกคิวบอล” กระทบเพียงจุดที่บางที่สุดของ “ลูกเป้า” เท่านั้น
19. การแทงลูกกระโดด (Jump Shot)
“การแทงลูกกระโดด” เกิดขึ้นเมื่อ “ลูกคิวบอล” กระโดดข้ามส่วนใดส่วนหนึ่งของ “ลูกเป้า” ไม่ว่าจะกระทบ “ลูกเป้า” หรือไม่ก็ตาม ยกเว้นในกรณีที่
- เมื่อ “ลูกคิวบอล” กระทบ “ลูกเป้า” เป็นลูกแรกก่อน แล้วจึงกระโดดข้ามลูกอื่นๆ
- เมื่อ “ลูกคิวบอล” กระโดดขึ้นแล้วกระทบ “ลูกเป้า” แต่ไม่ได้ตกลงยังด้านหลังของ “ลูกเป้า” (ไม่ได้กระโดดข้ามลูกเป้า)
- เมื่อกระทบ “ลูกเป้า” อย่างถูกต้องตามกติกาแล้ว “ลูกคิวบอล” ไปกระทบขอบชิ่งแล้วจึงกระโดดข้าม “ลูกเป้า” หรือลูกอื่นๆ
20. การแทงไม่โดน (Miss)
“การแทงไม่โดน” หมายถึง การที่ “ลูกคิวบอล” แทงไปไม่กระทบ “ลูกเป้า” และในกรณีที่ “ผู้ตัดสิน” พิจารณาแล้วว่า “ผู้แทง” ยังไม่ได้ใช้ความพยายามอย่างมากพอในการแทงให้ถูก “ลูกเป้า”