7. กฏ-กติกา สำหรับผู้เล่นบนรถเข็น (Wheelchair
Competition)
7.1
ความพิการของผู้เล่น
ผู้เล่นจะต้องมีอาการทุพลภาพทางการเคลื่อนไหว
และต้องใช้รถเข็นในการแข่งขัน เช่น การป่วยเป็นอัมพาตของร่างกายส่วนล่าง
ผู้เป็นอัมพาตที่ใช้แขนและขาไม่ได้ ผู้ป่วยที่ถูกตัดแขนหรือขา
หรือการพิการอื่นๆ ที่เป็นที่ยอมรับทางการเคลื่อนไหว ในบางกรณี
อาจต้องมีใบรับรองแพทย์มาแสดง เพื่อยืนยันสถานะอาการของผู้เล่น
7.2
การทำฟาล์ว
- ผู้เล่นจะต้องนั่งอยู่บนรถเข็นในขณะที่ออกคิว
(อย่างน้อยด้านหนึ่งร่างกายต้องอยู่บนเก้าอี้รถเข็น) หากมีเบาะรองนั่ง
เบาะรองนั่งจะต้องเรียบ และมีขนาดเท่ากับเก้าอี้รถเข็น
เบาะรองนั่งจะต้องไม่มีการหนุนให้สูงขึ้น
เพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับผู้เล่น
หรือให้ผู้เล่นสามารถลุกขึ้นเป็นลักษณะกึ่งนั่งกึ่งยืนได้
ไม่อนุญาตให้ผู้เล่นขึ้นมานั่งบนลูกล้อ หรือที่ท้าวแขน
ความสูงของพื้นเก้าอี้ที่ผู้เล่นนั่ง จะต้องไม่สูงเกิน 27 นิ้ว หรือ
68.5 เซนติเมตรจากพื้นห้อง
- น้ำหนักตัวของผู้เล่นจะต้องไม่อยู่บนเท้าขณะที่ออกคิว
และไม่สามารถใช้ขาขยับตัวให้พ้นจากเก้าอี้รถเข็น
หรือใช้ตัวพักกับส่วนหนึ่งส่วนใดของโต๊ะเพื่อออกคิวได้
- ผู้เล่นสามารถใช้อุปกรณ์ช่วย เช่น ตัวต่อคิว ตัวต่อเรสต์
หรือเรสต์โก่ง ในการแทงได้ แต่ต้องไม่ได้รับความช่วยเหลือใดๆ
ในการแทงทุกไม้ (อาจมีผู้ช่วยถือเรสต์ให้ได้
แต่ต้องไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับการแทง “ลูกเป้า”
แต่อย่างใด) ผู้เล่นสามารถขอผู้ช่วยในการเคลื่อนที่ไปรอบๆ โต๊ะได้
แต่ต้องไม่มีร่างกายส่วนใดของผู้ช่วยสัมผัสกับรถเข็นในขณะที่ผู้เล่นออกคิว
การละเมิดกติกาที่กล่าวมาข้างต้น
ถือเป็นการละเมิกกติกา ข้อ 6.16
การกระทำอันไม่เป็นสุภาพบุรุษ และจะถูกปรับโทษ ดังนี้
|
ครั้งที่ 1 –
ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามได้ “เล่นลูกจากในมือ
(Ball in Hand)” จากตำแหน่งใดก็ได้บนโต๊ะ |
|
ครั้งที่ 2 – ถูกปรับแพ้ใน “เกม” นั้น |
|
ครั้งที่ 3 – ถูกปรับแพ้ใน “แมตช์” นั้น |
ทั้งนี้ ผู้ตัดสินอาจใช้ดุลยพินิจ
พิจารณาการลงโทษตามลักษณะของการกระทำฟาล์ว และที่กฏ-กติกาของประเภทนั้นๆ
ได้ระบุไว้
7.3
ข้อจำกัดของรถเข็นที่ใช้
ห้ามนำรถเข็นที่ทำให้ผู้เล่นลุกขึ้นยืนได้มาใช้ในการแข่งขัน
รถเข็นที่ผู้เล่นนำมาใช้ ต้องมีการทำความสะอาดให้เรียบร้อย
และอยู่ในสภาพที่ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ